ฝีดาษวานร มาเช็คอาการว่าคุณมีความเสี่ยงหรือไม่?

By TeamU

ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เรื่องราวเกี่ยวกับโรค ฝีดาษวานร (Mpox) ได้กลายเป็นประเด็นที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ ด้วยความที่โรคนี้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ประเทศแถบแอฟริกาและละแวกใกล้เคียง ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายคนเกิดความกังวลว่า ตนเองหรือคนใกล้ตัวอาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อฝีดาษวานรหรือไม่ ในบทความนี้ เราจะมาสำรวจและเช็คอาการต่างๆ ของฝีดาษวานร เพื่อให้คุณสามารถประเมินได้ว่าตนเองมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด หรือผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศควรปฏิบัติตัวอย่างไร พร้อมกับแนะนำวิธีการป้องกันและรักษาอย่างเหมาะสม

ฝีดาษวานร คืออะไร?

ฝีดาษวานร หรือ Mpox เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสกลุ่ม Poxviridae โดยฝีดาษชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับโรคฝีดาษ (Smallpox) ที่ถูกกำจัดไปแล้วในปี 1980 แต่ความรุนแรงของโรคนั้นไม่เท่าฝีดาษ โดยส่วนใหญ่ฝีดาษวานรจะทำให้ผู้ป่วยมีไข้ ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ และมีตุ่มขึ้นตามร่างกาย ตุ่มดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นที่ใบหน้า มือ เท้า และบางครั้งอาจเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ และทวารหนัก

โรคฝีดาษวานร เริ่มถูกพบในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงกลางปี พ.ศ. 2565 โดยพบในกลุ่มชายวัยทำงาน จุดเริ่มการแพร่ระบาดมาจากชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวตามสถานบันเทิงต่างๆ ในประเทศไทย หลังจากสถานการณ์ผู้ป่วยเริ่มลดลง ในช่วงกลางเดือนปี พ.ศ. 2566 องค์การอนามัยประกาศให้โรคฝีดาษวานร พ้นจากสถานะภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ทว่าไม่นานก็กลับพบการระบาดอีกครั้งในประเทศไทย โดยครั้งนี้มีการระบาดในกลุ่มเยาวชนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ณ ขณะนี้ยืนยันผู้ป่วยจำนวน 827 ราย เสียชีวิตสะสม 11 ราย

Love2test

สายพันธุ์ของ ฝีดาษวานร

สายพันธุ์ของฝีดาษวานร

  • Clabe 1 (เคลท วัน) เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงและอาจถึงขั้นเสียชีวิต พบการระบาดในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออกเป็นหลัก ยังไม่พบในประเทศไทย
  • Clabe 1b (เคลท วันบี) เป็นสายพันธุ์ที่มีการปรับตัวรุนแรงกว่า และกำลังระบาดหนักในประเทศแถบแอฟริกากลาง หรือ ดีอาร์คองโก (DR Congo) ตั้งแต่กันยายน 2566 ป่วยสะสม 13,791 ราย เสียชีวิต 450 ราย และยังพบผู้ป่วยเด็กเพิ่มขึ้นอีกด้วย
  • Clabe 2 (เคลท ทู) เป็นสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก มีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์แอฟริกากลางมาก และเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ และในหลายประเทศทั่วโลก

สาเหตุของการติดเชื้อฝีดาษวานร

การติดเชื้อฝีดาษวานร แบ่งออกได้ทั้งการติดเชื้อจากสัตว์ป่าและการติดเชื้อจากคนสู่คน ได้แก่

  • การสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น หนูป่า กระรอก สัตว์ตระกูลลิง สัตว์ฟันแทะ เป็นต้น โดยเฉพาะหากมีการสัมผัสกับเลือด ผิวหนัง แผล หรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • การรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ถูกปรุงสุก เนื้อสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์อื่นจากสัตว์ติดเชื้อ
  • การสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากคนที่ติดเชื้อ เช่น เลือด น้ำลาย น้ำมูก น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่น และการอยู่ใกล้ชิด การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อ ซึ่งมีโอกาสสัมผัสกับแผล หรือตุ่มจากคนที่ติดเชื้อได้อีกด้วย
  • การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันกับคนที่ติดเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดตัว ชุดชั้นใน เสื้อผ้า เป็นต้น
  • เคยเดินทางหรืออาศัยอยู่ในละแวกที่มีการระบาดของโรคฝีดาษวานร ก็มีความเสี่ยงที่ติดเชื้อนี้ได้

สาเหตุของการติดเชื้อ ฝีดาษวานร

อาการของ ฝีดาษวานร

การเช็คอาการเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณประเมินได้ว่า คุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฝีดาษวานรหรือไม่ อาการของฝีดาษวานรสามารถแบ่งออกเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้:

ระยะวันอาการ
ระยะบ่ม
(Incubation Period)
7-14หลังจากติดเชื้อ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ เป็นเวลา 7-14 วัน ระยะนี้เรียกว่าระยะบ่ม เพาะเชื้อ ซึ่งไวรัสยังไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาใดๆ กับร่างกาย
ระยะก่อนออกอาการ
(Prodromal Phase)
1-3เมื่อผ่านระยะบ่ม ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการที่คล้ายกับการติดเชื้อไวรัสทั่วไป เช่น มีไข้สูง ปวดหัวอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลียเหนื่อยล้า อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในช่วง 1-3 วันแรก
ระยะอาการเต็มที่
(Eruptive Phase)
14-30ระยะนี้คือช่วงที่ผู้ป่วยเริ่มมีตุ่มฝีดาษขึ้นตามร่างกาย ตุ่มดังกล่าวจะเริ่มจากบริเวณใบหน้า แล้วกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น มือ เท้า และบางครั้งอาจเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ และทวารหนัก ตุ่มฝีดาษนี้จะมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสๆ และค่อย ๆ แห้งตัวและตกสะเก็ดในช่วงระยะเวลา 2-4 สัปดาห์

ใครมีความเสี่ยง?

ไม่ใช่ทุกคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อฝีดาษวานร แต่กลุ่มคนที่อาจมีความเสี่ยงสูงได้แก่:

ผู้ที่อาศัยหรือเดินทาง
ไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด

หากคุณได้เดินทางไปยังพื้นที่
ที่มีการระบาดของโรคหรือมีการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
ผู้ที่มีการสัมผัสใกล้ชิด
กับผู้ติดเชื้อ

การสัมผัสโดยตรงกับแผล
ตุ่มฝีของผู้ติดเชื้อ การใกล้ชิด
หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ
ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด อาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฝีดาษวานรมากขึ้น

วิธีการตรวจวินิจฉัย

หากคุณสงสัยว่าคุณอาจติดเชื้อฝีดาษวานร การพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเป็นสิ่งที่สำคัญ แพทย์อาจทำการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ หรือเก็บตัวอย่างจากตุ่มฝีเพื่อนำไปตรวจหาการติดเชื้อไวรัส

วิธีการตรวจวินิจฉัย ฝีดาษวานร Mpox

การรักษาฝีดาษวานร

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับฝีดาษวานร แต่การรักษามักจะเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาเพื่อควบคุมไข้ บรรเทาอาการปวด และดูแลตุ่มฝี เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยฝีดาษวานรจะฟื้นตัวได้เองภายใน 2-4 สัปดาห์

การป้องกันการติดเชื้อ ฝีดาษวานร

การป้องกันเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฝีดาษวานร วิธีการป้องกันที่แนะนำได้แก่:

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่อาจติดเชื้อ: หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่อาจเป็นพาหะนำโรค หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งของที่สัตว์ติดเชื้อใช้ เช่น เครื่องนอน หรือเสื้อผ้า
  • ล้างมือบ่อยๆ: การล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ใช้หน้ากากอนามัย: หากคุณต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของฝีดาษวานร การใช้หน้ากากอนามัยสามารถช่วยลดโอกาสในการหายใจรับเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ: หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ติดเชื้อ หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว หรือเสื้อผ้า

อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

การเช็คอาการฝีดาษวานร เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้คุณสามารถประเมินความเสี่ยงของตนเองต่อการติดเชื้อได้ แม้ฝีดาษวานรจะเป็นโรคที่ยังไม่มีการรักษาเฉพาะเจาะจง แต่การรับรู้ถึงอาการและการป้องกันที่เหมาะสม สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ หากคุณมีอาการที่สงสัยว่าอาจเป็นฝีดาษวานร ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และคำแนะนำในการรักษาที่เหมาะสม ในท้ายที่สุด การตระหนักถึงอาการของฝีดาษวานร และการรักษาความสะอาดส่วนตัวอย่างเคร่งครัด เป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ฝีดาษวานรอาจเป็นโรคที่สามารถควบคุมได้ หากเรารู้จักวิธีการดูแลตัวเอง และปฏิบัติตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัด